วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขนมหวานไทย

สูตรขนมหวานไทย : แกงบวดเผือก

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

1. เผือกหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 2 ถ้วยตวง
ขนมหวานไทย : แกงบวดเผือก2. น้ำเปล่า 2 1/2 ถ้วยตวง
3. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
4. หางกะทิ 1 ถ้วยตวง
5. ใบเตย 2 ใบ
6. น้ำตาลทราย 40 กรัม
7. น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม
8. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
9. น้ำปูนใส
ขนมหวานไทย : แกงบวดเผือก
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. ทำความสะอาดและหั่นเผือกเป็นชิ้นพอดีคำ จากนั้นนำไปแช่น้ำปูนใสประมาณ 15 นาทีจึงนำไปล้างทำความสะอาดอีกครั้ง และผึ่งให้แห้ง
2. นำหางกะทิ, ใบเตย, น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บใส่ลงไปในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลางจนเดือด
3. ใส่เผือกที่หั่นไว้แล้วลงไป ต้มต่อไปจนเผือกสุกและนุ่ม (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที)
4. ใส่หัวกะทิและเกลือลงไป ต้มต่อจนเืดือดอีกครั้งจึงปิดไฟ
5 . ตักใส่ถ้วย สามารถเสริฟทันทีขณะร้อน หรือปล่อยไว้ให้เย็นแล้วค่อยเสริฟเป็นอาหารว่างในวันสบายๆ

ขนมหวานไทย


 สูตรขนมหวานไทย : ขนมสาคูเปียกมะพร้าวอ่อน

  เครื่องปรุง + ส่วนผสม
ขนมหวานไทย : ขนมสาคูเปียกมะพร้าวอ่อน1. สาคู 200 กรัม
2. น้ำตาลทราย 250 กรัม 
3. เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเป็นชิ้น 100 กรัม
4. น้ำเปล่า 900 กรัม
5. หัวกะทิ 100 กรัม
6. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
7. แป้งข้าวเจ้า 1/2 ช้อนชา
 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำน้ำเปล่าใส่ลงในหม้อและตั้งบนไฟร้อนปานกลาง ขณะรอน้ำเดือดนำสาคูไปล้างในน้ำเปล่าอย่างรวดเร็ว
2. เมื่อน้ำเดือด จึงใส่สาคูลงในหม้อ คนอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เม็ดสาุคูเกาะตัวกัน ต้มจนเกือบสุก โดยเม็ดสาคูจะมีลักษณะใส จะเหลือจุดขาวๆภายในเม็ดสาคู
3. ใส่น้ำตาลทรายลงไปในหม้อ คนจนน้ำตาลละลายจึงใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้งจึงปิดไฟ
4. ทำน้ำราดกะทิ โดยใส่น้ำกะทิ, แป้งข้าวเจ้าและเกลือลงในหม้อเล็ก ตั้งบนไฟอ่อนๆจนเข้ากันดี ปิดไฟและพักไว้
5. ตักสาคูมะพร้าวอ่อนใส่ถ้วย ราดหน้าด้วยน้ำกะทิ พร้อมเสริฟรับประทานได้ทันที


ขนมหวานไทย


สูตรขนมหวานไทย : ขนมวุ้นมะพร้าวอ่อน

   

 1. หัวกะทิ 200 กรัม                     
 2. วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ
 3. น้ำเปล่า 500 กรัม
 4. น้ำตาลทราย 150 กรัม
 5. เนื้อมะพร้าวอ่อน 50 กรัม
 6. น้ำมะพร้าวอ่อน 200 กรัม
 
 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำหัวกะทิใส่หม้อและนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ใส่เกลือลงไป คนให้ละลาย ปิดไฟทันที (อย่าให้กะทิแตกมัน)
2. ตั้งกระทะทองเหลือง (หรือใช้กระทะเทฟลอนแทนก็ได้) บนไฟร้อนปานกลาง ใส่น้ำเปล่าและวุ้นผง ลงไป รอจนเดือดใส่น้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายจึงลดไฟลง
3. นำเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าวไปปั่นให้เข้ากัน แล้วใส่ลงในส่วนผสมวุ้น (ในข้อ 2) ใช้ไฟอ่อนๆ เคี่ยวอีก สักพัก จึงใส่กะทิที่เตรียมไว้ในข้อหนึ่งลงไป คนให้เข้ากันเสร็จึงปิดไฟ (หมายเหตุ : น้ำมะพร้าวอ่อนต้องหวาน เพราะเมื่อนำไปผสมทำวุ้นแล้วจะทำให้รสชาตเเปรี้ยวเหมือนวุ้นเสีย ถ้าไม่มีน้ำมะพร้าวอ่อนหวานให้ใช้น้ำลอยดอกไม้แทน)
4. เทส่วนผสมวุ้นลงในแบบหรือพิมพ์ที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้หายร้อน จึงนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น
5. เคาะวุ้นออกจากแบบ จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆ

     


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบและขั้นตอนวิธีในไขการแก้ปัญหา

     การออกแบบวิธีการแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยประสบการณ์  ความรู้ความเข้าใจในปัญหา  และความคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นตอนแล้ว ยังต้องอาศัยเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นแผนภาพซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้ดี
เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบวิธีแก้ปัญหา มี 2 ลักษณะคือ
1. รหัสลำลอง    
    รหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายเพื่ออธิบายขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา  การเขัยนรหัสลำลองไม่มีรูแบบที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความถนัดของผู้เขียน ซึ่งอาจจะเขียนอย่างละเอียดหรือย่อและในบางครั้งอาจอธิบายในลักษณะคล้ายภาษาพูด หณืออาจจะเขียนในรูปแบบคล้ายภาษาโปรแกรมก็ได้เช่นกัน การใช้รหัสลำลองในการออกแบบวิธีแก้ปัญหามีข้อดีคือ เขียนง่ายผู้เขียนคำนึงเพียงแต่วิธีแก้ปัญหา โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเขียนผิดรูปแบบหรือไม่และถ้าผู้เขียนมีความชำนาญแล้ว การเขียนรหัสลำลองในรูปแบบที่คล้ายกับภาษาโปรแกรมจะทำให้สามารถดัดแปลงไปเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย
2. ผังงาน
    ผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา โดยใช้รูปสัญลักษณ์มาเรียงต่อกันสัญลักษณ์แต่ละแบบจะมีความหมายถึงกระบวนการที่แตกต่างกัน โดยจะมีคำอธิบายสั้นๆเพิ่มเติมในรูปสัญลักษณ์
                                  ตารางสัญลักษณ์และความหมายของผังงาน 

ในการเขียนผังงานมีหลักการ คือ ให้เลือกสัญลักษณ์แทนกระบวนการที่ถูกต้อง และเขียนข้อความสั้นๆ แทนสิ่งที่ต้องกระทำลงในรูปสัญลักษณ์ แล้วนำใาเรียงต่อกัน เชื่มแต่ละสัญลักษณ์ด้วยลูกศร โดยทั่วไปแล้ว จะเรียงลำดับของสัญลักษณ์ไว้จากบนลงล่่าง ตามลำดับของการทำงานหรืออาจจะใช้หัวลูกศรระบุลำดับก่อนหลังของการทำงานก็ได้
     ในการเขียนรหัสลำลองหรือแผนงานเพื่อจำลองความคิดขั้นตอนการแก้ปัญหา เราจะกำหนดชื่อตัวแปรขึ้นมาใช้งานได้อย่างอิสระ เมื่อต้องการกำหนดค่าให้กับตัวแปร ให้ใช้สัญลักษณ์กำหนดค่า ซึ่งเป็นเครืองหมายลูกศรชี้จากขวามาซ้าย


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ เกวรินทร์  พรมสืบ
ชื่อเล่น แพม
อายุ 15
เรียนที่ โรงเรียนลำปางกัลยาณี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4
เกิดวันที่ 12 เมษายน 2540
email: pam_puch@yahoo.co.th
fb: kawarin  phromsub
ชอบ ฟังเพลง
เกลียด แมว